การประยุกต์ใช้ ICT
ทางการพยาบาล
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้าด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์
โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite)
หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล
(Medical Consultation)
เป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล
(One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อมๆ
กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล ที่ 2
อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่
4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก
โรงพยาบาลที่ 6 ได้ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล
ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 3 ระบบดังนี้คือ
1) ระบบ Teleradiology
เป็นระบบการรับส่งภาพ X-Ray โดยผ่านการ Scan
Film จาก High Resolution Scanner เพื่อเก็บลงใน
File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการส่ง File ดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลที่จะให้คำปรึกษา
2) ระบบ Telecardiology
เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด
เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
3) ระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์
(Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ
ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular
ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ
อยู่แล้ว
Thai Tele Medicine ช่วยชีวิตคนไข้
นวัตกรรม Tele Diag: Thai Tele Medicine ที่ผลิตโดยคนไทยสามารถช่วยชีวิตคนไข้จากการวินิจฉัยโรคไปมากกว่า
80,000 รายทั่วประเทศ ระบบ TeleDiag: Thai Tele
Medicine หรือ ระบบแพทย์ทางไกล (telemedicine) ทางด้านรังสีวินิจฉัย การอ่าน และวินิจฉัยผลในระยะไกลจากเครื่อง x-ray
computer โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบ PACS (Picture
Archiving and Communication System) เพื่อให้ใช้งาน Teleradiology
เหมือนโรพยาบาลตามที่ต่าง ๆ ในโลก
เริ่มใช้ในโรงพยาบาลพื้นที่ห่างไกล มีการคิดค่าเช่าเหมาใช้โปรแกรมในราคาเดือนละ 4,900
บาท
สุรชน กัณวิจิตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทโปรดิจิส์ จำกัด
ผู้พัฒนาโปรแกรม TeleDiag : Thai Tele Medicine เปิดเผยว่า นวัตกรรม Tele
Diag :Thai Tele Medicine ที่ผลิตโดยบริษัทสามารถช่วยชีวิตคนไข้จากการวินิจฉัยโรคไปมากกว่า
80,000 รายทั่วประเทศ โดยโปรแกรมดังกล่าว
เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทได้พัฒนาขึ้นเอง ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
จึงสามารถคิดอัตราค่าเช่าเหมาจ่ายในการใช้ซอฟต์แวร์เดือนละ 4,900 บาท
สำหรับโรงพยาบาลที่ขาดบุคลากรทางการแพทย์หรือรังสีแพทย์
ซึ่งหากมีกรณีคนไข้เคสที่จะต้องผ่าตัด รังสีแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรค
หรืออาการก่อนว่า ผู้ป่วยเป็นอะไรมา เช่น หกล้มมาจะต้องวินิจฉัยตรวจผลเลือด
หรือจำเป็นต้องสแกนสมองหรือไม่ซึ่งหากโรงพยาบาลแห่งนั้นไม่มีรังสีแพทย์ประจำอยู่
ทางโรงพยาบาลต้องส่งข้อมูลต่อเพื่อให้รังสีแพทย์ที่โรงพยาบาลอีกแห่งวินิจฉัยให้
พร้อมกับส่งผลกลับมา ในบางครั้งอาจจะไม่ทันต่อการรักษาได้ หากผู้ป่วยมีอาการหนัก
ทั้งนี้ โรงพยาบาลมีการเชื่อมต่อข้อมูลรังสีวิทยาทางไกล
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น จะทำให้การส่งข้อมูล
ภาพถ่ายรังสีแบบครบวงจรจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ไปสู่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีที่โรงพยาบาลอีกแห่ง
โดยแพทย์สามารถนำข้อมูลมาทำการวินิจฉัยได้ทันที จึงทำให้การรักษารวดเร็ว
โอกาสรอดของผู้ป่วยก็สูงตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่ได้นำโปรแกรมนี้
ไปใช้อยู่ประมาณ 30% ของโรงพยาบาลทั่วประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในต่างจังหวัด สำหรับกรุงเทพฯก็มีที่โรงพยาบาลเวชชาธานี,
โรงพยาบาลพระราม 9 และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์
เป็นต้น
โดยนวัตกรรมนี้คิดค้นด้วยฝีมือคนไทยทำให้มีราคาไม่แพง
หากเทียบกับโปรแกรมของต่างประเทศ ระบบลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ซึ่งโปรแกรม TeleDiag
ลงทุนเพียง 3-4 ล้านบาท
และหากเป็นระบบที่สมบูรณ์มีทุกฟังก์ชั่น จะต้องลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท ถ้าเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลบางแห่งลงทุนใช้ซอฟต์แวร์ต่างประเทศ
ลงทุนกว่า 25 ล้านบาท
สุรชน กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้โปรแกรม TeleDiag:
Thai Tele Medicine วินิจฉัยผู้ป่วยวันละ 30 คน
ขณะที่ระบบซอฟต์แวร์ของต่างประเทศ สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยได้เพียงวันละ 5-10
ราย เนื่องจากระบบของต่างประเทศ จะต้องนั่งทำงานกับระบบอินเทอร์เน็ต
ส่วนของบริษัทไฟล์ข้อมูลโปรแกรมคนไข้จะวิ่งไปหาแพทย์ แบบเรียลไทม์
ปริมาณการวินิจฉัยผู้ป่วยจึงแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของการคิดค้นงานวิจัยนี้
เพราะเคยทำงานเป็นนักวิจัยสาธารณสุขมาก่อน จึงได้มองเห็นปัญหาการขาดแคลนแพทย์ที่
"สมองไหล" จึงคิดค้นโปรแกรมเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
โดยมีผศ.ดร.ยุทธพล วิเชียรอิน ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์
มาช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ในโครงการนี้
สำหรับบริษัทมีจุดเริ่มต้นจากการดิ้นรนพัฒนาโปรแกรมเอง
ให้บริการเอง เมื่อครั้งที่มีการก่อตั้งใหม่ๆ เพียงคิดว่าทำไปก็ได้บุญ
ได้ช่วยเหลือคนป่วย เมื่อได้รับรางวัลนวัตกรรมโทรคมนาคมดีเด่น ประเภท Telecom
Application และรางวัลชมเชย True Innovation Awards ทำให้ได้รับทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
"นวัตกรรมของเราได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ
เพราะมีการบอกกันแบบปากต่อปากรวมทั้งพนักงานเดินเข้าไปแนะนำโดยตรงกับรังสีแพทย์
ทางแพทย์ก็จะให้ทำการทดสอบวิธีการใช้งานให้ดู ทางรังสีแพทย์ก็พอใจรวมทั้งค่าบริการแบบเหมาจ่ายรายเดือนอยู่ในราคาที่ทางสถานพยาบาลยอมรับ
ทำให้บริษัทก็มีรายได้พอเลี้ยงตัวได้ จึงไม่คิดราคาสูงกว่านี้
เพราะไม่ต้องการให้โรงพยาบาลไปบวกเพิ่มกับผู้ป่วย" สุรชน กล่าว
นอกจากนี้
เขายังมีความเห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์ของไทยถือว่าได้เปรียบในเรื่องความรู้ความสามารถ
และแนวความคิดที่ไม่ด้อยกว่าใครในโลก แต่เสียเปรียบในเรื่องเทคโนโลยี เพราะส่วนใหญ่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมาใช้
ประกอบกับนิสัยคนไทยไม่ค่อยดิ้นรน
ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่
กำลังรอใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ขณะเดียวกันโปรแกรมบางอย่างสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ได้โดยไม่ต้องรอ
3G ซึ่งโปรแกรมแพทย์ทางไกลนี้ กับโครงข่ายที่มีอยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องใช้ 3G ก็สามารถใช้งานได้แล้ว
โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเหมือนถนน หากเป็นถนนลูกรังก็จะวิ่งช้าหน่อย
ขณะที่โรคภัยไข้เจ็บสามารถจะเป็นได้ทุกที่ทุกเวลา
โดยไม่จำเป็นต้องรอถนนให้สร้างเสร็จ
ระบบใดๆจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็จะวัดจากสิ่งที่ได้จากการใช้งาน
จะเห็นได้ว่านวัตกรรม Tele Diag: Thai Tele Medicine ที่ผลิตโดยคนไทยสามารถช่วยชีวิตคนไข้มีประโยชน์เป็นอย่างมากเพื่อการวินิจฉัยโรคไปมากกว่า
80,000 รายทั่วประเทศ โรงพยาบาลสามารถการเชื่อมต่อข้อมูลรังสีวิทยาทางไกล
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ไปสู่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีที่โรงพยาบาลอีกแห่ง
โดยแพทย์สามารถนำข้อมูลมาทำการวินิจฉัยได้ทันที จึงทำให้การรักษารวดเร็ว
โอกาสรอดของผู้ป่วยก็สูงตามไปด้วย อีกทั้ง Thai Tele Medicine วินิจฉัยผู้ป่วยวันละ 30 คน
จึงช่วยลดปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแพทย์อีกทางหนึ่ง
แหล่งที่มา: HTTP://BIT2ALONE.WORDPRESS.COM/4-2/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น