วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Suan sunandha Rajabhat University


วิชาสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
นางสาวสิริมงคล มิรินทร์

Suan Sunandha Rajabhat University









ประวัติความเป็นมา



















   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทา ได้เป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดาและเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก
 รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ปัจจุบันมีสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดอยู่ 6 ตำหนัก
เนื่องจากมีผู้นำบุตรีและหลานของตน มาถวายตัวต่อพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดาเป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้างโรงเรียนนิภาคารสอนตามหลักสูตรการศึกษาสมัยนั้น
รวมทั้งอบรมมารยาทและการฝีมือด้วยดำเนินกิจการไปโดยปริยาย

พ.ศ. 2480 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ดำริที่จะให้เป็นที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่คณะรัฐมนตรีลงมติ
ให้ใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา ของรัฐกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาสำหรับกุลสตรี ชื่อโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480
ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน สวนสุนันทาพัฒนาด้านการศึกษาต่อเนื่องมีสาระสำคัญ สรุปได้โดยลำดับดังนี้

พ.ศ. 2480
เริ่มจัดการศึกษา 2 แผน คือ แผนกสามัญและแผนกวิสามัญ แผนกสามัญ เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 7-8 นั้น
 รับโอนจากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนสตรีโชตเวช แผนกเลขานุการสำหรับนักเรียนประถมที่ 1 เท่านั้นที่จัดเป็นสหศึกษา
ส่วนแผนกวิสามัญรับโอนนักเรียน ฝึกหัดครูประถมหญิง จากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 มาศึกษาหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.)1 ปี
มีทั้งประเภทนักเรียนนอกบำรุง คือ ผู้เรียนโดยทุนส่วนตัวและนักเรียนในบำรุง คือผู้สอบได้ทุนกระทรวงธรรมการ
พ.ศ. 2481
งดสอนชั้นมัธยมปีที่ 8 และแบ่งการเรียน การสอนเป็น 3 แผนกคือ แผนกประถมศึกษา แผนกมัธยมศึกษาและแผนกฝึกหัดครู พ.ศ. 2482 แผนกมัธยมศึกษาเหลือเพียงชั้นมัธยมปีที่ 1-6
ส่วนแผนกฝึกหัดครูเปิดสอนหลักสูตร ประโยคครูประถม (ป.ป.) 1 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 ให้มาเรียนแบบอยู่ประจำทั้งประเภทในบำรุงและนอกบำรุง
พ.ศ. 2483
แผนกประถมศึกษาเปิดสอนชั้นเตรียมประถมแต่ปีต่อมาก็ยุบไปเปิดสอนที่โรงเรียน ละอออุทิศ
พ.ศ. 2486
ขยายการรับนักเรียนในบำรุงจากต่างจังหวัดทุกจังหวัด โดยจังหวัดเป็นผู้สอนคัดเลือก นักเรียนส่งเข้ามาเรียนอยู่ประจำ จังหวัดละ 2 คน
พ.ศ. 2490
รับเฉพาะนักเรียนในบำรุง มีทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
พ.ศ. 2491
รับโอนนักเรียนประถมจากโรงเรียนละอออุทิศมาไว้
พ.ศ. 2495
เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม แผนกการงานสันทัด เช่น งานประดิษฐ์ งามไม้ งานพิมพ์ งานไฟฟ้า งานเสื้อผ้า ฯลฯ
พ.ศ. 2496
เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) 2 ปี แผนกการงานสันทัดรับจากผู้จบ ป.ป. การงานสันทัด
พ.ศ. 2498
เลิกหลักสูตร ป.ป. และ ป.ม. การงานสันทัดและเปิดสอนฝึกหัดครู หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา (ป.กศ.) 2 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6
เริ่มจากคิดคะแนนแบบหน่วยกิตแทนแบบร้อยละ
พ.ศ. 2500
เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตร ป.กศ. รอบบ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียน ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วไม่มีที่เรียน รับนักเรียนฝึกหัดครูชายเป็นครั้งแรกและเริ่มมีนักเรียน
ทั้งประเภทอยู่ประจำและประเภทเดินเรียน เนื่องจากไม่มีหอนอนเพียงพอ
พ.ศ. 2501
เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง ) รับจากผู้สำเร็จการศึกษา ป.กศ. และกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ยกฐานะโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย
เป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา จัดการเรียนการสอน เป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายอุดมศึกษา ฝ่ายมัธยมศึกษาและฝ่ายประถมสาธิต
พ.ศ. 2510
เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตร ป.ป. แบบเร่งรัดรับนักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเทียบเท่ามาเรียน 1 ปี 
พ.ศ. 2511
เปิดสอนภาคนอกเวลาหลักสูตร ป.กศ. ด้วยในปีต่อมา
พ.ศ. 2517
เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัย วิชาการศึกษา
พ.ศ. 2518
กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้วิทยาลัยครู สวนสุนันทาเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู
แบ่งสายงานการปฏิบัติราชการออกเป็น - สำนักงานอธิการ - คณะวิชา - ภาควิชาและยังคงมีโรงเรียนประถมสาธิต และมัธยมสาธิตเช่นเดิม
พ.ศ. 2519
สอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของกรมการฝึกหัดครู
พ.ศ. 2520
งดรับนักศึกษาภาคนอกเวลา
พ.ศ. 2521
เปิดรับนักเรียนระดับปริญญาตรี 2 ปี ตาม โครงการอบรมครูและบุคลากร การศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.)
พ.ศ. 2523
เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยรับจากนักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ก่อน พ.ศ. 2523 ) หรือมัธยมปีที่ 6
พ.ศ. 2525
รับนักศึกษา ป.กศ. ชั้นสูง ภาคต่อเนื่องและภาคสมทบ (แทนภาคนอกเวลาเดิม)
พ.ศ. 2526
เปิดสอนหลักสูตรเทคนิคอาชีพระดับ ป.กศ. ชั้นสูง 2 ปี รับจากผู้สำเร็จ มัธยมปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
พ.ศ. 2527
มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 กำหนดให้วิทยาลัยครูเปิดสอนได้ 3 สาขา
คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาตรีหลังอนุปริญญา
วิทยาลัยครูสวนสุนันทายังเปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ 8 วิชาเอกและอนุปริญญาศิลปศาสตร์ 4 วิชาเอก
พ.ศ. 2528
เลิกโครงการ อ.ค.ป. เปลี่ยนเป็นโครงการอบรมการศึกษาบุคลากรประจำ (กศ.บป.) สอนทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาการอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2529
เปิดสอนระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีและปริญญาตรีหลัง อนุปริญญา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์เพิ่มเติมจาก สาขาวิชาการศึกษาที่มีอยู่เดิม
พ.ศ. 2530
สภาการฝึกหัดครูได้พัฒนาหลักสูตรทุกระดับและทุกสาขาวิชา วิทยาลัยจึงเปิดสอนหลักสูตรใหม่นี้
พ.ศ. 2535
สภาการฝึกหัดครูอนุมัติโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาลัยจึงเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมดังกล่าว
พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน
ถึงปัจจุบันวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏ โดยได้ตราเป็น พระราชบัญญัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 19 มกราคม 2538 ในปัจจุบันสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
เปิดสอนภาคปกติและภาค กศ.บป. ในระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี 3 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาศึกษาศาสตร์ เปิดสอน 16 โปรแกรมวิชา 2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดสอน 11 โปรแกรมวิชา 3. สาขาศิลปศาสตร์ เปิดสอน 14 โปรแกรมวิชา
ทั้งยังมีการบริการวิชาการแก่บุคคลทั่วไปหลายโครงการ เช่น โครงการ อบรมภาษาอังกฤษ อบรมภาษาญี่ปุ่นอบรมการถ่ายภาพอบรมคอมพิวเตอร์ อบรมนาฎศิลป์ ซัมเมอร์แคมป์ อบรมการพิมพ์การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร 



                                                      คณะ



คณะครุศาสตร์

สาขาวิชาสังคมศึกษา  ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ( ป.ตรี )
การศึกษาปฐมวัย ( ป.ตรี )
คณิตศาสตร์ ( ป.ตรี )
ภาษาไทย ( ป.ตรี )
ภาษาอังกฤษ ( ป.ตรี )
วิทยาศาสตร์ ( ป.ตรี )
      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเคมี ( ป.ตรี )
สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ( ป.ตรี )
สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( ป.ตรี )
    
     
สาขาวิชาสถิติประยุกต์ ( ป.ตรี )
   
     

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาวิชาภาษาไทย ( ป.ตรี )
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาภาษาจีน ( ป.ตรี )
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ( ป.ตรี )
สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ( ป.ตรี )



สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ ( ป.ตรี )

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ( ป.ตรี )

การบริหารปกครองท้องถิ่น ( ป.ตรี )


สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชานิติศาสตร์ ( ป.ตรี )

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( ป.ตรี )
สาขาการจัดการอุตสาหกรรม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม
(ป.ตรี)
สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
(ป.ตรี )
สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร ( ป.ตรี )
สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและมัลติมีเดีย ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชามาตรวิทบาและระบบคุณภาพ(ป.ตรี)
สาขาวิชาออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ(ป.ตรี )
  

คณะศิลปกรรมศาสตร์
สาขาวิชาจิตรกรรม ( ป.ตรี )

สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาออกแบบหัตถศิลป์สร้างสรรค์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาดนตรี ( ป.ตรี )
สาขาวิชาศิลปะการแสดงการละคร ( ป.ตรี )
สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ( ป.ตรี )


คณะวิทยาการจัดการ
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ ( ป.ตรี )

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการเงินการธนาคาร ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการตลาด ( ป.ตรี )
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการบัญชี ( ป.ตรี )

สาขาวิชาวารสนเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด ( ป.ตรี )
สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง ( ป.ตรี )
สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการภาพยนตร์และการสื่อสารการแสดง ( ป.ตรี )

สาขาวิชาภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการแพร่ภาพและเสียงผ่านสื่อใหม่ ( ป.ตรี )

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ ( ป.ตรี )
สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจพาณิชยนาวี
สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ

วิทยาลัยนานาชาติ
สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว ( ป.ตรี )
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ( ป.ตรี )
สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ( ป.ตรี )
สาขาวิชาธุรกิจการบิน ( ป.ตรี )
สาขาวิชาธุรกิจภัตตาคารและที่พัก ( ป.ตรี )
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ( ป.ตรี )
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
สาขาวิชาแพทย์แผนไทยประยุกต์
       สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ(การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม
   สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
      



                                     หน่วยงาน


                              คณะ
                   คณะครุศาสตร์
                  คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
                  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                  คณะวิทยาการจัดการ
                  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                  คณะศิลปกรรมศาสตร์
                  บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาลัย
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
วิทยาลัยนานาชาติ
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
วิทยาลัยการภาพยนต์ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

สำนัก
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปะและวัฒธรรม
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานวิทยาเขต
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักทรัพย์สินและรายได้
สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัฒกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์

กอง
กองบริหารงานบุคคล
กองพัฒนานักศึกษา
กองนโยบายและแผน
กองกลาง - งานประชาสัมพันธ์
กองกลาง - วิเทศสัมพันธ์
กองบริการการศึกษา
งานทะเบียนและวัดผล
กองคลัง สำนักงานอธิการบดี


ศูนย์
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์วิทยบริการ
ศูนย์การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิคส์
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการองค์กร
ศูนย์เวชศึกษาป้องกัน
ศูนย์ถ่ายภาพสุนันทาโฟโต้
ศูนย์ภาษา
ศูนย์การศึกษาวัดไตรมิตร
ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมอาเซียน







หน่วยงานอืนๆ
หน่วยตรวจสอบภายใน
หน่วยบ่มเพราะวิสาหกิจ
โรงเรียนสาธิต
โครงการความร่วมมือทางวิชาการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
โครงการปรัชญาดุษฏีบัณฑิตการบริหารการพัฒนา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตรกรรมการจัดการ
สำนักฝึกอบรมและบริการวิชาการ
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำกัด

                              ของดีสวนสุนันทา


 พระพุทธสุนันทากร


  








 พระพุทธสุนันทากร เป็นพระพุทธรูปประจำวิทยาลัย พุทธลักษณะปางประทานพรผ้าทิพย์ประดับตราประจำวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ขนาดหน้าตักกว้าง 17 นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนอาคาร ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2512



สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี



สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระปิยมเหสีในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำดับพระองค์ที่ 50 ในสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เสด็จพระราชสมภพ ณ วันเสาร์ที่10 พฤศจิกายน ปีวอก พุทธศักราช 2403 ณ พระบรม มหาราชวัง ทรงมี พระเชษฐภาตา พระขนิษฐภคินี และ พระขนิษฐภาตา ร่วมพระชนนี รวม 6 พระองค์ 

1. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณ อนันตรนรไชย 
2. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) 
3. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี) 
4. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า) 
5. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ บรมราชชินีพันปีหลวง) 
6. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฐ์) เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ขณะนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ทรงมีพระชันษา 9 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงด้วยพระเมตตากรุณายิ่งกาลต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศ ขึ้นเป็นพระนางเธอฯ พระอัครมเหสี ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดี เบื้องพระยุคลบาทอย่างยิ่ง จนเป็นที่โปรดปรานสนิทเสน่หาของสมเด็จพระบรมราช สวามียิ่งกว่า พระอัครมเหสี หรือข้าบาทบริจาริกาองค์อื่น ๆ ในครั้งนั้น เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา ทรงมีพระราชธิดาองค์แรก ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า กรรณา ภรณ์เพชรรัตน์ สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทาฯ เสด็จทิวงคต เมื่อพระชนมายุได้เพียง 19 ปี 6 เดือน 21 วัน ด้วยอุบัติเหตุเรือล่ม ที่ตำบลบางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2423 ซึ่ง ขณะนั้นทรงพระครรภ์อยู่ด้วย พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าหัว ทรงโศกเศร้าโทมนัสในพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความเสียดายอาลัยรักเป็นที่สุด ดังจารึกที่อนุสาวรีย์ที่บางปะอิน ดังนี้ที่ระลึกถึงความรักแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี อัครมเหสี อันเสด็จทิวงคตแล้ว ซึ่งเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความสุขสบายจะเป็นที่เบิกบานใจ พร้อมด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รักและสนิทอย่างยิ่ง ของเธอ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นโดย จุฬาลงกรณ์บรมราช ผู้เป็นสามีอันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้า ในเวลานั้นแทบจะถึงแก่ชีวิต ถึงกระนั้นก็ยังมิได้หักหาย จุลศักราช 1243 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพวกเราชาวสวนสุนันทาทั้งมวล เราเรียกตัวเองว่า "ลูกพระนาง"




เป้าหมาย วิสัยทัศน์



มหาวิทยาลัยคุณภาพ ชั้นนำเพื่อปวงชน      ปรัชญา (Motto)      ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม     "Wisdom Faith and Social Leadership"   วิสัยทัศน์ (Vision)
มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน

"A Leading QualityUniversity for All."มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ(Leading Quality University)  เป็นมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตมีคุณภาพระดับแนวหน้า ที่ตรงกับความต้องการ และเป็นที่พอใจแก่ชุมชน และสังคม เพื่อปวงชน(For All) เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสทางการศึกษา แก่ ทุกคน ทุกเพศ ทุกระดับ ทุกฐานะ และอาชีพ
  พันธกิจ (Mission)
 
     1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า ตรงกับความต้องการของ ชุมชน และสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นประชากรโลก (global citizen) อย่างมีความสุข     2. ผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครู     3. ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ เพื่อยกมาตรฐานชุมชน สังคม และผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs สู่สากล     4. อนุรักษ์ พัฒนาและบริการ และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์     5. วิจัย สร้างวัฒนธรรม และองค์ความรู้ สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่สากล
วัตถุประสงค์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้กำหนดไว้ ดังนี้     1. จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเป็นเลิศ เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีปัญญา มีทักษะวิชาชีพและมีคุณธรรมที่ตอบสนองกับความต้องการของท้องถิ่นแและสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้     2. จัดการศึกษาที่หลากหลาย ยืดหยุ่น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และไดพัฒนาทักษะด้านภาษา ICT การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในระบบ นอกระบบ และเรียนรู้บนระบบอิเล็กทรอนิกส์และ online เข้าถึงความรู้ได้ทุกเวลา และให้โอกาสทางการศึกษาแก่ทุกคน     3. พัฒนา วิจัยและสร้างนวัตกรรมที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชน และท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและสู่สากล     4. ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลและสารสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์     5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ มีระบบการบริหารทรัพยากรหรือ ERP: Enterprise Resource Planning ที่มุ่งเน้นผลงานเป็นสำคัญ เพิ่อก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนค่านิยม     1. จัดการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อสู่ความเป็นเลิศ     2. มุ่งมั่นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง     3. สรัางคุณค่าและนวัตกรรมให้ผู้รับบริการ     4. เสมอภาค โปร่งใส และเป็นธรรม     5. บุคลากรทุกคน มีคุณค่าต่อองค์กรวัฒนธรรมความดีงามและการปฏบัติตนในแบบจริยวัตรแบบไทย และความเคารพผู้อาวุโส  

ประวัติต้นแก้วจุลจอม




     ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสชวาหรือประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน ทรงนำพันธุ์ไม้ฝรั่งมีชื่อสามัญูว่า Lignum Vitae Tree ลักษณะเป็นดอกสีม่วง - คราม มี ๕ กลีบ เกสรสีเหลือง กลิ่นหอมคล้ายดอกแก้ว มาปลูกไว้บบเนินเขาภายในพระราชอุทยานสวนสุนันทา เมื่อแรกบรรดาชาววังเรียกกันว่า “ต้นน้ำหอมฝรัง” เนื่องจากมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำหอมฝรั่ง ต่อมาพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาได้ทรงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “แก้วจุลจอม” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงนำพันธุ์ไม้นี้มาจากเกาะชวาดังปรากฏหลักฐานคำสัมภาษณ์พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพรไว้ในหนังสือ “เรื่องเล่าชาววัง” ความตอนหนึงว่า



     ต้นแก้วจุลจอม นับว่าเป็นต้นแรกในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาปลูกไว้ภายในพระราชอุทยานสวนสุนันทา หลังจากนั้นได้เรียกต่อๆ กันมาจนผิดเพี้ยน ต่อมาในราวปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ อาจารย์เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชียวชาญูพันธุ์ไม้จากกรมป่าไม้ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “แก้วเจ้าจอม” สืบมาจนถึงปัจจุบัน และในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ นี้ ต้นแก้วจุลจอมจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี เท่ากับอายุของพระราชอุทยานสวนสุนันทาฉะนั้นจึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีเป็นความภาคภูมิใจที่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจะได้เรียกชื่ออันถูกต้องสมศักดิ์ศรีของต้นแก้วจุลจอมอันเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยของเราเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงนำพันธุ์ไม้มาปลูกในสวนสุนันทา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ผู้ประทานชื่อ “แก้วจุลจอม” อีกด้วย
“....ดอกไม้แปลกๆ ที่ไม่มีชื่อ ท่านอย่าเป็นผู้ตั้งให้ ต้นเเก้วจุลจอมต้นที่ตายไม่ได้ปลูกที่แถวตำหนักนี้ ปลูกที่ตำหนักเล็ก พอต้นไม้มีดอกก็มาเลี้ยงกัน เอามาทำแกงกิน ทำจิ้มน้ำพริก..”